เกี่ยวกับเรา
โครงสร้างและอัตรากำลัง กองควบคุมวัตถุเสพติด

หน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
ภารกิจกองควบคุมวัตถุเสพติด
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหยในส่วนที่เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ควบคุมและกำกับดูแลวัตถุเสพติดให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย
- ดำเนินการรับขึ้นทะเบียนและอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- ศึกษา วิจัย และจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับวัตถุเสพติด
- ตรวจสอบ กำกับดูแล เฝ้าระวังวัตถุเสพติด สถานประกอบการเกี่ยวกับวัตถุเสพติด และการโฆษณาวัตถุเสพติดให้เป็นไปตามกฎหมาย
- สนับสนุนวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมแก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท
- พัฒนากฎหมาย หลักเกณฑ์ และกฎระเบียบที่สอดคล้องกับสากลให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
- เก็บรักษา ทำลาย และใช้ประโยชน์ของกลางวัตถุเสพติดให้เป็นไปตามกฎหมาย
- ให้ความรู้และคำแนะนำทางวิชาการ และพัฒนาข้อมูลเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านวัตถุเสพติด
- ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
กองควบคุมวัตถุเสพติด จัดแบ่งกล่มภารกิจงาน เป็น 1 ฝ่าย 6 กลุ่ม ดังนี้
ฝ่ายบริหารทั่วไป
กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด
กลุ่มกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
กลุ่มกำหนดมาตรฐาน
กลุ่มพัฒนาระบบ
กลุ่มควบคุมของกลางวัตถุเสพติด
กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
ฝ่ายบริหารทั่วไป
ภารกิจ
- งานสารบรรณ
- งานการเจ้าหน้าที่เบื้องต้น และดำเนินการเกี่ยวกับค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ ของบุคลากร
- งานอำนวยการ และสนับสนุนกลุ่มภารกิจอื่นๆ
- งานการเงิน บัญชี และงบประมาณเบื้องต้น
- ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินการและการใช้งบประมาณ
- งานพัสดุ
- จัดการยานพาหนะ
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด
ภารกิจ
- พิจารณาเกี่ยวกับการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารเคมีที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการเกี่ยวกับการพักใช้ เพิกถอนใบอนุญาต ตามมติคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ หรือคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และต่ออายุใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุเสพติด
- พิจารณาเกี่ยวกับทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษ และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- ดำเนินการอนุญาตการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- ดำเนินการอนุญาต และรายงานตามพันธกรณี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้า ยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
- แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม และประเมินผลทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาด
ภารกิจ
- กำกับดูแลเฝ้าระวังคุณภาพวัตถุเสพติด ติดตามการใช้วัตถุเสพติดและสารตั้งต้นของ สถานประกอบการเกี่ยวกับวัตถุเสพติดและการโฆษณาวัตถุเสพติดให้เป็นไปตามกฎหมาย
- ตรวจสอบการกระจายวัตถุเสพติดและสารตั้งต้น
- สืบสวนประมวลหลักฐาน เพื่อดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับวัตถุเสพติด
- ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน และงานเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม
- ศึกษาแนวโน้มเพื่อเฝ้าระวังการกระจาย และการใช้วัตถุเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์จำเป็นและสนับสนุนข้อมูลแก่ผู้บริหารกรณีที่มีข่าวพาดพิงเกี่ยวกับการระบาดของวัตถุเสพติด
- แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม และประเมินผลทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้วัตถุเสพติดในทางการแพทย์ ( ADR )
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มกำหนดมาตรฐาน
ภารกิจ
- พิจารณาจัดทำและปรับปรุงกฎ ระเบียบ ประกาศฯ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และการป้องกันการใช้สารระเหย และดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
- ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ ประเมินสภาพปัญหา และเสนอแนวทางการควบคุมวัตถุเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์จำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดหรือปรับการควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และการป้องกันการใช้สารระเหย
- ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสภาพปัญหา และเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อกำหนด ที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
- พิจารณาวินิจฉัยจัดประเภทผลิตภัณฑ์
- ดำเนินการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ คณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และคณะกรรมการป้องกันการใช้สารระเหย
- แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม และประเมินผลทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มพัฒนาระบบ
ภารกิจ
- จัดทำแผนงาน งบประมาณ โครงการ ประสานการจัดทำนโยบาย ทิศทางองค์กร
แผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิรูป และนำสู่การปฏิบัติ - พัฒนาระบบการควบคุมวัตถุเสพติดและระบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการทำงาน ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของกองมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและ สามารถพัฒนาการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
- เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวม จัดทำข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารระเหย
- จัดการระบบคุณภาพ
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม และประเมินผลทางวิชาการเพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มควบคุมของกลางวัตถุเสพติด
ภารกิจ
- ตรวจรับและเก็บรักษายาเสพติดให้โทษของกลางและของกลางที่มิใช่ยาเสพติดให้โทษที่สถานตรวจพิสูจน์ทั่วประเทศ และพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้นำส่ง ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลวัตถุเสพติดของกลาง
- ดำเนินการประชุมคณะกรรมการ ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
- จัดการระบบการทำลายวัตถุเสพติดของกลาง
- ดำเนินการเพื่อนำวัตถุเสพติดของกลางไปใช้ประโยชน์ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- แลกเปลี่ยนข้อมูลและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย กำหนดแนวทาง ติดตาม และประเมินผลทางวิชาการ เพื่อพัฒนางานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
ภารกิจ
1. ฝ่ายจัดซื้อและงานวิชาการด้านวัตถุเสพติด
- วางแผนและพัฒนาการจัดซื้อจัดหาวัตถุเสพติด
- ตรวจรับวัตถุเสพติดและบริหารวัตถุเสพติด
- พัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยกรณีฉุกเฉิน
- สนับสนุนข้อมูล การนำเข้า การจำหน่ายวัตถุเสพติด และข้อมูลทางวิชาการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วัตถุเสพติด
- งานประกันคุณภาพวัตถุเสพติด
- ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ กำหนดแนวทางติดตามและประเมินผลทางวิชาการ
- ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ฝ่ายขายและติดตามการกระจายวัตถุเสพติด
- วางแผนดำเนินการและพัฒนาการขายวัตถุเสพติด
- ศึกษา วิเคราะห์การกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการควบคุมตรวจสอบและเฝ้าระวังการใช้วัตถุเสพติด
- ติดตามบริการหลังการขาย ตอบคำถาม/รับฟังผู้รับบริการ และปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
- ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลข้อมูลการจำหน่ายวัตถุเสพติด
- พัฒนาระบบเครือข่ายประสานงานระหว่างเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด กับผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรม ผู้ปฏิบัติงานคลังเวชภัณฑ์ และผู้เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบรายงานและติดตามการกระจายของวัตถุเสพติด ประมวลรายงานการใช้วัตถุเสพติด
- เฝ้าระวังการใช้วัตถุเสพติด รวบรวมข้อมูลการใช้วัตถุเสพติดของสถานพยาบาล
- ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งให้ความรวมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนข้อมูลการจำหน่ายวัตถุเสพติดให้กับหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
3. ฝ่ายการเงินและบัญชี
- บริหารจัดการด้านการบัญชีเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ให้เป็นไปตามระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ควบคุม กำกับ ติดตาม การจัดการด้านบัญชี และงบการเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ประสานการดำเนินงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัญชี
- จัดทำระบบควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงด้านการบัญชี
- จัดทำผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีของทุนหมุนเวียน ตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดส่งแบบรายงานแผน-ผลการดำเนินงานตามมาตรการเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน
- จัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ในระบบการจัดทำรายงานการเงินรวมของหน่วยงานภาครัฐ (ระบบ CFS)
- จัดทำรายงานทางการเงินของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดในระบบบริหารจัดการเงินนอกงบประมาณ (Non-Budgetary Management System : NBMS)
- จัดทำรายงานแผน – ผลรายรับ รายงานแผน – ผลรายจ่ายของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ในระบบ NBMS
- จัดทำผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
- จัดทำรับรู้รายได้ นำส่งรายได้ เบิกจ่ายเงิน และจัดทำงบทดลองแบบ บช. ๐.๕ ในระบบ GFMIS
- บริหารจัดการด้านการเงิน รวมทั้งการเบิก-จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและตรวจสอบความถูกต้องให้เป็นไปตามระเบียบการคลัง หรือระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำทะเบียนคุม และรายงานทางการเงิน
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ฝ่ายงบประมาณ
- วิเคราะห์และประมาณการรายได้–ค่าใช้จ่าย ประเมินต้นทุนผลผลิตการดำเนินงาน จัดทำ คำของบประมาณประจำปีของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ติดตามประมวลผลการดำเนินงานและประเมินความคุ้มค่าการใช้จ่ายงบประมาณของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
- จัดทำรายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำเดือน/ประจำปีของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดเสนอผู้บริหาร
- ประสานข้อมูลงบประมาณกับกรมบัญชีกลาง /สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์และจัดทำรายงานฐานะทางการเงินเข้าระบบของสำนักงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายฉบับที่ ๕ รายงานภาวะเศรษฐกิจและการคลัง
- ตรวจสอบเอกสาร ใบสำคัญการรับเงิน/การเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอผู้บริหารพิจารณา
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
5. ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริหารทั่วไป
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารงานบุคคล
- ดำเนินการงานพัสดุให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
- กำกับ ควบคุม ดูแลรักษาวัสดุและครุภัณฑ์ของเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ดูแล บำรุงรักษาสาธารณูปโภค โสตทัศนูปกรณ์ งานดูแลอาคารสถานที่และยานพาหนะ งานกำกับดูแลรักษาความปลอดภัย
- ควบคุม กำกับ ดูแลบำรุงรักษาระบบปรับอากาศในห้องคลังยาเสพติดให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานสนับสนุน ประสานงานและงานด้านเลขานุการของผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกองควบคุมวัตถุเสพติด
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
6. ฝ่ายกฎหมาย
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุง ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งในการซื้อและขายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และอำนวยความสะดวกต่อบุคคลากรทางการแพทย์
- ให้ความเห็น ให้คำปรึกษา และวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานอนุญาโตตุลาการ งานเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง งานวินัยข้าราชการและลูกจ้าง และงานคดีอื่นๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ปฏิบัติงานประสานกลุ่มกฎหมายอาหารและยา หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
7. ฝ่ายนโยบายและแผนงาน
- รวบรวมข้อมูล สรุปผล รายงาน และดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด คณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการประจำปี ติดตามรายงานผลการดำเนินงาน
- จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล แผนปฏิบัติการประจำปี รวมทั้งดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิชาการให้บุคลากร
- จัดทำแผนแม่บทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนปฏิบัติการประจำปี และดำเนินการงานให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว ประสานข้อมูลบริหารจัดการด้านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ดำเนินงาน วิเคราะห์และจัดทำตัวชี้วัดของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด รายงาน สรุปผล และติดตามการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด และประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประสานข้อมูล ร่วมจัดการอบรม ศึกษาดูงานของผู้ปฏิบัติงานและคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ดำเนินงานและส่งเสริมงานระบบคุณภาพของกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ดำเนินการ ประสานและส่งเสริมการจัดการความรู้ การจัดประชุมกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
- ดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย