ค่า ML ใหม่ของสารปนเปื้อนของอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ประกาศฯ ฉ. 355) และเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ประกาศฯ ฉ. 356) ต่างจากค่าเก่าอย่างไร
ค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารหรือวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดค่าตามประกาศเดิม ดังนี้
(1) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 355)
ชนิดสารปนเปื้อน | ค่า ML เดิม ตาม ป.สธ. ฉ. 355 | ค่า ML ใหม่ ตาม ป.สธ. ฉ. 414 | หมายเหตุ |
ดีบุก | 250 mg/kg | 50 – 250 mg/kg | ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและ ภาชนะบรรจุ |
สังกะสี | 100 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ทองแดง | 20 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ตะกั่ว | 1 mg/kg | 0.03-2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
สารหนู | 2 mg/kg | 0.1 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ปรอท | 0.02 – 0.5 mg/kg | 0.02-1.6 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
(2) เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 356)
ชนิดสารปนเปื้อน | ค่า ML เดิม ตาม ป.สธ. ฉ. 355 | ค่า ML ใหม่ ตาม ป.สธ. ฉ. 414 | หมายเหตุ |
สารหนู | 0.2 mg/kg | 0.1 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ตะกั่ว | 0.5 mg/kg | 0.03 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ทองแดง | 5 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
สังกะสี | 5 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
เหล็ก | 15 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ดีบุก | 250 mg/kg | 150 mg/kg | กรณีบรรจุในกระป๋อง |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | 10 mg/kg | – | ดูข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ FA (ป.สธ. ฉ. 389) |