ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อนมีกี่ฉบับ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่จะบังคับใช้ใหม่ มี 2 ฉบับ ดังนี้
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 413 ) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลายฉบับที่กำหนดมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยประกาศฯ ฉบับนี้จะยกเลิกข้อกำหนดสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์จำนวน 19 ประเภทหรือชนิดของอาหาร ได้แก่
ประเภทหรือชนิดของอาหาร | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง |
น้ำมันถั่วลิสง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2522) เรื่อง กำหนดน้ำมันถั่วลิสงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานวิธีการผลิตและฉลากสำหรับน้ำมัน ถั่วลิสง (ข้อ 6) |
น้ำมันปาล์ม | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม (ข้อ 6) |
น้ำมันมะพร้าว | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันมะพร้าว (ข้อ 4) |
ช็อกโกแลต | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2527) เรื่อง ช็อกโกแลต (ข้อ 3 (7)) |
เครื่องดื่มเกลือแร่ | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 195) พ.ศ. 2543 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ (ข้อ 4 (6)) |
ชา | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 (ข้อ 6 (9)) |
น้ำนมถั่วเหลือง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 198) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 5 (7) และ (12)) |
น้ำส้มสายชู | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 204) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำส้มสายชู(ข้อ 5(2)) |
น้ำมันและไขมัน | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำมันและไขมัน (ข้อ 6 (8)) |
น้ำผึ้ง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 211) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำผึ้ง (ข้อ 4 (15)) |
แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(8)) |
เนย | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 227) พ.ศ. 2544 เรื่อง เนย (ข้อ 4(9)) |
ไข่เยี่ยวม้า | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2544 เรื่อง ไข่เยี่ยวม้า (ข้อ 4 (2)) |
ชาสมุนไพร | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่องชาสมุนไพร (ข้อ 4 (3)) |
ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง (ข้อ 4(3)) |
มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี(ข้อ 3) |
เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๔๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (ข้อ 4 (5) และ (6)) |
อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4 (4)) |
เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๕๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(9)) |
โดยปริมาณสูงสุด (Maximum Level; ML) ของสารปนเปื้อนซึ่งยอมให้พบในอาหารข้างต้นถูกกำหนดใหม่ตามข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยประกาศฯ ฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ
(2.1) ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เกี่ยวกับข้อกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนที่ยอมให้พบได้กับอาหารทุกประเภท จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๙๘ (พ.ศ.๒๕๒๙) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน และฉบับที่ ๒๗๓ (พ.ศ.๒๕๔๖) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ ๒)
(2.2) กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อน (Maximum Level; ML) สำหรับสารปนเปื้อนต่างๆ ในอาหารแต่ละประเภทหรือแต่ละชนิดสอดคล้องตามแนวทางการกำหนดค่า ML ขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex)