การให้บริการรับจ้างกำจัดแมลง
การให้บริการรับจ้างทำความสะอาดในบ้านเรือน
การควบคุมการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างการจัดการแมลงและสัตว์อื่น
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบการที่ครอบครองผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ไว้เพื่อรับจ้างกำจัดปลวก มด แมลง หนู และสัตว์รำคาญตามบ้านเรือน อาคารสถานที่ จะต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 หรือแจ้งดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2
ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดหลักเกณฑ์ของประกาศกระทรวงเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีผลิต การมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้าง และการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่เก็บรักษา บุคลากร การปฏิบัติงานใช้วัตถุอันตราย มาตรการเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินการได้มาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีความปลอดภัยต่อชีวิต สัตว์ พืช ทรัพย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ผู้รับอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์การใช้ ตามข้อบ่งใช้บนฉลากและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำหนดให้ผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย เพื่อใช้รับจ้างการจัดการแมลงและสัตว์อื่น ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายที่ผ่านการอบรม และทดสอบความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการแมลงและสัตว์อื่น สารเคมีวัตถุอันตราย อุปกรณ์เครื่องมือ ชีววิทยาและนิเวศน์วิทยาของแมลงสัตว์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปลวก แมลงสาบ ยุง มด หนู นอกจากนี้ยังกำหนดให้ต้องเข้ารับการอบรมเพื่อต่ออายุหนังสือรับรองทุก 3 ปี
ผู้ขอมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่มีสถานที่เก็บอยู่ใกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขออนุญาต ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
การขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
1. กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาต
ค่าธรรมเนียม คิดตามปริมาณ การผลิต นำเข้า ส่งออก / ต่อปี
-
คิดตามปริมาณและพื้นที่เก็บรักษา (เฉพาะการ ครอบครอง)
( กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๒ )
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ เท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแต่ละประเภท
อายุใบอนุญาต ใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
การแจ้งการดำเนินการครอบครองเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
2. กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่เคยได้รับอนุญาต
3. กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาต
ค่าธรรมเนียม ไม่มี
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ ไม่มี
อายุใบรับแจ้งการดำเนินการ ใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับแต่ปีที่ออกใบรับแจ้ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง พ.ศ.2550
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกำหนดหลักสูตรอบรม และหน่วยงานจัดอบรม ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง พ.ศ.2559
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
- คำขออนุญาตมีไว้ในครอบครองฯ (วอ.7)
- คำขอต่ออายุใบอนุญาต(วอ.9)
- ใบแจ้งการดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (วอ.สธ 3)
- คำขอต่ออายุใบรับแจ้งการดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (วอ.สธ 12)
- คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดำเนินการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (วอ.สธ 11)
- หนังสือรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต
- หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินการ
- บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอเปลี่ยนแปลงใบสำคัญใบอนุญาตใบแจ้ง
- บันทึกการตรวจสอบหลักฐานของผู้ขออนุญาต
คู่มือ ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556)
ตรวจสอบรายชื่อผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ปี 2558
- ชื่อผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมฯ รุ่นที่ 17 และ 23
- ชื่อผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมฯ รุ่นที่ 18 และ 24
- ชื่อผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมฯ รุ่นที่ 19 และ 25
ติดต่อสอบถามรายละเอียดการอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง
ได้ที่ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 091-4594918 (คุณจรูญรัตน์) / 02-9428350 (ธุรการกีฏวิทยา)
หลักสูตรการจัดอบรม
- หลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (1 วัน)
- หลักสูตรผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (5 วัน)