การขออนุญาตเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
การแบ่งชนิดและการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด ตามความเป็นอันตราย ความเสี่ยง และความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1
เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
• ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่มีสารสำคัญเป็น
สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ ( anionic surfactants) หรือสาร ลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ
( nonionic surfactants ) ยกเว้น nonylphenol ethoxylate
• ผลิตภัณฑ์กาว ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม alkyl cyanoacrylate
• ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ที่มีสารสำคัญเป็น calcium hypochlorite, sodium hypochlorite, dichloroisocyanuric acid and its salts, trichloroisocyanuric acid and its salts
การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายชนิดที่ 1
วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้กฎหมาย กำหนดให้ผู้ประกอบการผลิต นำเข้า ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และจัดทำฉลากและสถานที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลากผลิตภัณฑ์ ผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำเข้าซึ่งวัตถุอันตราย ให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ วอ./สธ 5 ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าแจ้งข้อเท็จจริงก่อนการผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตราย ครั้งแรก หากสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หากสถานที่ผลิตหรืสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ ส่วนผู้ส่งออกและผู้ครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ไม่ต้องแจ้งค่าธรรมเนียม ไม่มีอายุใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ไม่มีกำหนดอายุ |
ขั้นตอนการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 คู่มือการแจ้งข้อเท็จจริงและการจัดทำฉลากวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 |
วัตถุอันตรายชนิดที่ 2
เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ี่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
• ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มี benzyl benzoate เป็นสารสำคัญ
• ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ที่จะผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ ชนิดที่ 3 จะต้องได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนก่อน จึงจะสามารถแจ้งดำเนินการเพื่อผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ได้ หรือจึงจะสามารถรับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายในกรณีของวัตถุอันตราย เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องยื่นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ที่ต้องส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ) (กรณีเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาและเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันกำจัดแมลง และสัตว์ฟันแทะ) |
ค่าธรรมเนียมใบสำคัญการขึ้นทะเบียน 2,000 บาท แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง 1. คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 1) 2. คำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 7) 3. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียน (วอ.สธ 6) 4. คำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ.สธ 8) 5. แบบฟอร์มการส่งเอกสาร การแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม ขอผ่อนผันการส่งเอกสาร 6. หนังสือรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต 7. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินการ 8. บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบคำขออนุญาตผลิตตัวอย่างนำเข้าตัวอย่าง 9. บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอเปลี่ยนแปลงใบสำคัญใบอนุญาตใบแจ้ง |
แนวทางการพิจารณาเอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
คู่มือการขออนุญาตวัตถุอันตรายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2
ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 จะต้องขอขึ้นทะเบียน และแจ้งการดำเนินการผลิตหรือนำเข้า วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ส่วนผู้ส่งออกจะต้องแจ้งการส่งออกผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
สำหรับผู้ขอมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่มีสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้แจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
- กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่เคยได้รับอนุญาต
- กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาต
ค่าธรรมเนียม ไม่มี
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ ไม่มี
อายุใบรับแจ้งการดำเนินการ ใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับแต่ปีที่ออกใบรับแจ้ง
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
- บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอยกเลิกใบสำคัญการขึ้นทะเบียน/ใบอนุญาต/ใบรับแจ้งการดำเนินการ/ใบแจ้งข้อเท็จจริง
- คำขอต่ออายุใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 12)
- คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 11)
- ใบแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 (แบบ วอ./สธ 3)
ขั้นตอนการแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2
คู่มือการขออนุญาตวัตถุอันตรายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
วัตถุอันตรายชนิดที่ 3
เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยง สูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
• ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม pyrethroids
• ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค ที่มีกรด ด่าง หรือสารกลุ่ม aldehydes เป็นสารสำคัญ เป็นต้น
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ผู้ที่จะผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ ชนิดที่ 3 จะต้องได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนก่อน จึงจะสามารถแจ้งดำเนินการเพื่อผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 ได้ หรือจึงจะสามารถรับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าวัตถุอันตรายในกรณีของวัตถุอันตราย เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องยื่นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียน ได้แก่ บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ที่ต้องส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ) (กรณีเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาและเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทป้องกันกำจัดแมลง และสัตว์ฟันแทะ) |
ค่าธรรมเนียมใบสำคัญการขึ้นทะเบียน 2,000 บาท |
1. คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 1) 2. คำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 7) 3. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียน (วอ.สธ 6) 4. คำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ.สธ 8) 5. แบบฟอร์มการส่งเอกสาร การแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม ขอผ่อนผันการส่งเอกสาร 6. หนังสือรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต 7. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินการ 8. บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบคำขออนุญาตผลิตตัวอย่างนำเข้าตัวอย่าง 9. บันทึกการตรวจสอบเอกสารประกอบการขอเปลี่ยนแปลงใบสำคัญใบอนุญาตใบแจ้ง |
ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะต้องขอขึ้นทะเบียน และขออนุญาตผลิตหรือนำเข้า วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ส่วนผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา สำหรับผู้ขอมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่มีสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นขออนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา หากสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ |
การขออนุญาตวัตถุอันตราย ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ ค่าธรรมเนียม คิดตามปริมาณ การผลิต นำเข้า ส่งออก / ต่อปี 1.คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.1) 2. คำขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.3) 3. คำขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย(แบบ วอ.5) 4. คำขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (แบบ วอ.7) 5. คำขอต่ออายุใบอนุญาต(แบบ วอ.9) |
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครอง
ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
สาร DDT, chlordane, dieldrin,chlorpyrifos และ chlorpyrifos-methyl ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เป็นต้น
แนวทางการพิจารณาสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและสถานที่ผลิตวัตถุอันตรายโดยการอ้างอิงใบอนุญาตผลิต/นำเข้า/ส่งออก เดิม
คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตฉบับล่าสุดลงในเว็บไซต์
ขั้นตอนการขออนุญาตผลิต นำเข้า/ส่งออก ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3
- การขออนุญาตผลิต วอ.3 (คู่มือประชาชนเพิ่มเติมเนื้อหาในเรื่องค่าใช้จ่ายของการขออนุญาตผลิต)
- แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (แยกตามประเภท)
- แนบ linkคู่มือการตรวจสถานที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมสถานที่ได้ถูกต้อง
- การขออนุญาตนำเข้า/ส่งออก วอ.3 (คู่มือประชาชนเพิ่มเติมเนื้อหาในเรื่องค่าใช้จ่ายของการขออนุญาตนำเข้า/ส่งออก)
- แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (แยกตามประเภท)
- แนบ link คู่มือการตรวจสถานที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมสถานที่ได้ถูกต้อง
- การขออนุญาตครอบครอง วอ.3 (คู่มือประชาชนเพิ่มเติมเนื้อหาในเรื่องค่าใช้จ่ายของการขออนุญาตครอบครอง วอ.3)
- แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (แยกตามประเภท)
- แนบ link คู่มือการตรวจสถานที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมสถานที่ได้ถูกต้อง