ผู้ผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหาร ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ หากฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(8) จะมีโทษตามมาตรา 50 คือ ต้องระวางโทษจ้าคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท
• ผู้ผลิตน้ำมันและไขมัน ต้องปรับกระบวนการผลิตน้ำมันและไขมันโดยไม่ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอนที่ทำให้ผู้ซื้อหรือผู้ใช้มั่นใจได้ว่ามิได้ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจออกใบรับรองกระบวนการผลิต (Letter of Confirmation) ข้อก้าหนดคุณภาพ
(Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis)
• ผู้นำเข้าน้ำมันและไขมัน ต้องมั่นใจได้ว่าน้ำมันและไขมันที่นำเข้ามิได้ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจขอใบรับรองกระบวนการผลิต (Letter of Confirmation) ข้อก้าหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) จากผู้ผลิตต่างประเทศ
• ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องปรับสูตรผลิตภัณฑ์โดยเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร ต้องเป็นส่วนประกอบที่ไม่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจขอใบรับรองกระบวนการผลิต (Letter of Confirmation) ข้อก้าหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ของวัตถุดิบที่ใช้จากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าน้ำมันและไขมัน
• ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องมั่นใจได้ว่าอาหารที่นำเข้ามิได้มีส่วนประกอบของน้ำมันและไขมันที่ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจขอใบรับรอง (Letter of Confirmation) เกี่ยวกับสูตรส่วนประกอบ กระบวนการผลิต ข้อก้าหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบที่ใช้จากผู้ผลิตต่างประเทศ
• ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น เนยเทียม หรือเนยขาว ต้องมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่จำหน่ายมิได้ใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจขอใบรับรองกระบวนการผลิต (Letter of Confirmation) ข้อก้าหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) จากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบนั้น
• ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายไม่มีส่วนประกอบที่มีน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน โดยอาจขอใบรับรองเกี่ยวกับสูตรส่วนประกอบกระบวนการผลิต ข้อก้าหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis)
จากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ
เนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่388 พ.ศ.2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มิได้มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีการผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้น กรณีผลิตอาหารที่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเพื่อการส่งออก จึงไม่สามารถกระทำได้ประกอบกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฎชัดเจนเกี่ยวกับผลร้ายของไขมันทรานส์ต่อสุขภาพ ดังนั้น อาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออกจึงไม่ควรมีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเช่นกัน
ประกาศฯ ฉบับนี้มีขอบเขตการบังคับใช้กับน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially hydrogenation) และอาหารที่มีน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบเท่านั้น มิได้หมายรวมถึงน้ำมันและไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนแบบสมบูรณ์(Fully hydrogenation) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ทำให้เกิดไขมันทรานส์
ประกาศฯ ฉบับนี้ ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ แต่มิได้ห้ามตรวจพบไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์อาหาร
องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization, FAO) แนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันทรานส์ต้องไม่เกิน 1% ของค่าพลังงานต่อวัน (หรือประมาณ 2 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค) อย่างไรก็ตาม FAO ยังแนะนำปริมาณสูงสุดในการบริโภคไขมันอิ่มตัว ที่ไม่เกิน 10% ของค่าพลังงาน (หรือประมาณ 20 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 5 กรัมต่อมื้อ) ไว้ด้วย เนื่องจากตระหนักว่าไขมันทั้งสองประเภทยังเป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น จึงต้องควบคุมปริมาณการบริโภคร่วมกัน
ไขมันทรานส์ให้ผลร้ายกว่ากรดไขมันอิ่มตัว คือ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไขมันชนิดเลว (LDL-Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพิ่มขึ้น และมีผลทำให้ระดับไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) ลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
• เนยเทียม (Margarine) และเนยขาว (Shortening)
• ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น ขนมปังกรอบ เค้ก พาย พัฟ เพสตรีและคุกกี้ เป็นต้น
• อาหารที่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแบบน้ำมันท่วม (Deep frying) ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิสูง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะสัมผัสที่ดี กรอบนอก นุ่มใน และมีสีเหลืองน่ารับประทาน เช่น โดนัททอด
ปัจจุบัน ผู้ประกอบการน้ำมันและไขมันส่วนใหญ่ได้ปรับใช้กระบวนการอื่นแทนกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และมีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว ดังนั้น เมื่อประกาศฯ มีผลใช้บังคับ (9 มกราคม 2562) แล้ว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นจะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจพบปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ข้างต้นได้ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ เช่น นม เนย ชีส เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณที่ตรวจพบน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน
ดังนั้น ผู้บริโภคควรอ่านรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะส่วนประกอบสำคัญที่ระบุไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์รวมทั้งฉลากโภชนาการ ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภค
ไขมันทรานส์(Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน
• ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย
• ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรม เนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น
ประกาศฯ กระทรวงฉบับนี้จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เนื่องจากข้อจำกัดด้านการตรวจสอบที่ไม่สามารถดำเนินการได้100% ดังนั้นการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพียงอย่างเดียวดังที่เคยปฏิบัติมาก่อนนั้น จึงไม่เพียงพอที่จะสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารได้ ดังนั้นการป้องกันปัญหาการปนเปื้อนด้วยการคัดเลือกวัตถุดิบตามหลัก GMPs ของผู้ผลิตอาหารจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ผู้ผลิตและผู้นำเข้าอาหารควรปฏิบัติดังนี้
• ศึกษาเรียนรู้ระบบการวิเคราะห์อันตราย (hazard analysis) ทั้งทางด้านชีวภาพ ด้านกายภาพ ด้านทางเคมี ตั้งแต่วัตถุดิบ การเตรียมและการเก็บรักษาวัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตลอดจนการเก็บรักษาและการขนส่งผลิตภัณฑ์เพื่อให้ทราบชนิดของสารปนเปื้อน และแหล่งหรือขั้นตอนที่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
• ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องทบทวนคุณภาพมาตรฐาน (specification) ของผลิตภัณฑ์(finished goods) หรือวัตถุดิบ (raw materials) แล้วแต่กรณีซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหนึ่งอาจมีค่า ML สำหรับสารปนเปื้อนกำหนดไว้ทั้งในลักษณะผลิตภัณฑ์สุดท้ายและวัตถุดิบ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและชนิดของสารปนเปื้อน กรณีที่สารปนเปื้อนกำหนดไว้สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร ผู้ผลิตอาหารต้องมีการตรวจสอบว่าวัตถุดิบนั้นมีปริมาณการปนเปื้อนเป็นไปตามกฏหมาย โดยอาจสุ่มเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ หรือขอเอกสารข้อกำหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (supplier)
• ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องตรวจสอบข้อมูลกับผู้ผลิตอาหารในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารที่นำเข้ามีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีสารปนเปื้อนเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยอาจขอใบรับรอง (Letter of Confirmation) เกี่ยวกับสูตรส่วนประกอบ กระบวนการผลิต ข้อกำหนดคุณภาพ (Specification) หรือใบรับรองผลวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ทั้งผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบที่ใช้จาก ผู้ผลิตต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอาหารนำเข้านั้น มีการควบคุมวัตถุดิบให้มีสารปนเปื้อน
เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
การี่ (Garri) เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศในภูมิภาคแอฟริกา ทำโดยนำรากมันสำปะหลังมาแช่น้ำค้างคืนแล้วบด
ตามข้อ 4 (3) แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ฉบับที่ 414 กรณีที่ไม่ได้ค่า ML ไว้สำหรับสารปนเปื้อนใด ในอาหารใด หากตรวจพบในปริมาณที่ต่ ากว่า LOQ ยังไม่จัดว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่หากสูงกว่าค่า LOQ จะพิจารณาเป็นรายกรณีบนพื้นฐานของข้อมูลวิชาการ และหลักการ as low as reasonably achievable หรือ ALARA
monomer) ต้องตรวจวิเคราะห์ทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารและภาชนะบรรจุอาหารหรือไม
อาจเลือกตรวจวิเคราะห์ในผลิตภัณฑ์อาหาร หรือภาชนะบรรจุอาหารอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตภาชนะพลาสติก ซึ่งอาจแพร่กระจายลงสู่อาหารได้เมื่อนำภาชนะพลาสติกเหล่านี้ไปใช้ ดังนั้นหากผู้ผลิตมีการควบคุมคุณภาพการแพร่กระจายของสารในภาชนะพลาสติกตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๙๕) พ.ศ. ๒๕๔๘ เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร
สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากวารสารที่น่าเชื่อถือ หรือฐานข้อมูลของหน่วยงานด้านการศึกษา เช่น ฐานข้อมูล Thai Food Composition Database 2015 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (https://inmu2.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php) หรือฐานข้อมูลขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น Technical Conversion Factors For Agricultural Commodities (http://www.fao.org/economic/the-statistics-divisioness/methodology/methodology-systems/technical-conversion-factors-for-agricultural-commodities/en/)
ตัวอย่างการคำนวณค่า ML
1. เมล็ดข้าวสาลี-แป้งข้าวสาลี ค่า ML ของตะกั่ว สำหรับเมล็ดธัญพืชซึ่งรวมถึงเมล็ดข้าวสาลีเท่ากับ 0.2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ทั้งนี้เมล็ดข้าวสาลีสามารถผลิตเป็นแป้งข้าวสาลีได้ประมาณร้อยละ 70 จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของตะกั่วในแป้งข้าวสาลีได้ดังนี้
- เมล็ดข้าวสาลี1000 กรัม มีตะกั่วปนเปื้อนได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม
- แป้งข้าวสาลี70 กรัมได้มาจากเมล็ดข้าวสาลี100 กรัม
ดังนั้น เมล็ดข้าวสาลี1000 กรัมจึงสามารถผลิตแป้งข้าวสาลีได้เท่ากับ (1,000 x 70)/ 100 = 700 กรัม - แป้งข้าวสาลี700 กรัม ได้มาจากเมล็ดข้าวสาลี1000 กรัม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อนได้ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม
ดังนั้นแป้งข้าวสาลี 1 กิโลกรัม จึงมีตะกั่วปนเปื้อนได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน (0.2 x 1,000)/ 700 = 0.29 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม
2. สาหร่ายแห้ง-สาหร่ายสด ค่า ML ของแคดเมียม สำหรับสาหร่ายแห้ง เท่ากับ 2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม โดยสาหร่ายสด น้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 89 และสาหร่ายแห้งมีน้ำเป้นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 6 ดังนั้นสาหร่ายจึงมีน้ำหายไประหว่างการทำแห้งประมาณร้อยละ 83 จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของแคดเมียมสำหรับสาหร่ายสดได้ดังนี้
- สาหน่ายแห้ง 17 กรัม มาจากสาหร่ายสด 100 กรัม
ดังนั้น สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม จึงมาจากสาหร่ายสด (1,000 x 100)/ 17 = 5882.35 กรัม - สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม มีแคดเมียมปนเปื้อนได้ 2 มิลลิกรัม
- สาหร่ายแห้ง 1000 กรัม เท่ากับสาหร่ายสดน้ำหนัก 5882.35 กรัม และมีแคดเมียมปนเปื้อน
ได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ดังนั้นสาหร่ายสด 1 กิโลกรัม จึงมีแคดเมียมปนเปื้อนได้ในปริมาณสูงสุดไม่เกิน
(2 x 1,000)/ 5882.35 = 0.34 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม
3. ปลาหมึกสด – ปลาหมึกแห้ง ค่า ML ของแคดเมียม สำหรับปลาหมึกสด เท่ากับ 2 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม โดยปลาหมึกสดมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 83 และปลาหมึกแห้งมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 24 ดังนั้นจึงมีน้ำหายไปในประมาณร้อยละ 59 โดยน้ำหนัก จึงสามารถคำนวณปริมาณสูงสุดของแคดเมียมสำหรับปลาหมึก
แห้งได้ดังนี้
- ปลาหมึกสด 1000 กรัม จะได้ปลาหมึกแห้ง 410 กรัม
- ปลาหมึกสด 1000 กรัม มีแคดเมียมปนเปื้อนได้2 มก.
ดังนั้นปลาหมึกแห้ง 1,000 กรัม จึงมีแคดเมียมปนเปื้อนได้ไม่เกิน
(2 x 1,000)/410 มก. = 4.88 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม
ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบหลายอย่างหรือมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนอาจใช้วิธีการคำนวณสัดส่วนได้แต่ต้องมีการทวนสอบค่าด้วยผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง FGs ด้วยว่าค่าที่คำนวณนั้นสอดคล้องกับผลวิเคราะห์จริงที่ได้หรือไม่ เนื่องจากกระบวนการผลิตอาจมีผลต่อปริมาณการปนเปื้อนของสารเคมี
เครื่องดื่มกระป๋องหมายรวมถึงเครื่องดื่มทุกอย่างที่บรรจุในกระป๋องโลหะ ซึ่งรวมทั้งกาแฟพร้อมบริโภคที่บรรจุในกระป๋องด้วย ดังนั้นกาแฟพร้อมบริโภคที่บรรจุในกระป๋องจึงตรวจพบดีบุกได้ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ผู้ผลิตสามารถพิจารณากำหนดค่าได้ตามความเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้า โดยปริมาณที่กำหนดอาจคำนวณจากอัตราของการแปรรูป (extraction rate) และสัดส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ ซึ่งควรพิจารณาประกอบกับผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง FGs ด้วย
การแบ่งกลุ่มพืชสามารถศึกษารายละเอียดการจัดกลุ่มของพืชได้เพิ่มเติมจากเอกสารมาตรฐานสินค้าเกษตร, มกษ. 9045-2559 เรื่อง การจัดกลุ่มสินค้าเกษตร: พืช ซึ่งเข้าถึงได้ที่ https://www.acfs.go.th/standard/download/CLASSIFICATION_AGRICULTURAL_COMMODITIES-CROP.pdf
วัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมหลักหรือใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญพิจารณาได้จากปริมาณที่ใช้และคุณภาพของวัตถุดิบซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอันตรายของผลิตภัณฑ์ซึ่งการตัดสินใจว่าวัตถุดิบชนิดใดเป็นวัตถุดิบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญที่ต้องควบคุมนั้น ผู้ผลิตต้องประเมินว่าวัตถุดิบที่ใช้นั้นเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารชนิดใด ในระดับใดตามหลักการวิเคราะห์อันตรายในอาหาร
รายการสารปนเปื้อนสำคัญที่ควรมีระบุไว้ใน Product Specification หรือ Certificate of Analysis ของ FGs ได้แก่
(1) เป็นรายการสารปนเปื้อนที่มีค่า ML กำหนดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับ FGs นั้นๆ ตามกฎหมาย
(2) สารอื่นๆ เช่น สารปนเปื้อนที่กำหนดค่า ML ไว้ในวัตถุดิบ ซึ่งผู้ประกอบการอาจนำมาพิจารณาร่วมกับปัจจัยการผลิตแล้วเห็นว่าจะส่งผลต่อระดับการปนเปื้อนใน FGs เช่น ผลิตภัณฑ์ Isolated Soybean Protein (ISP) ซึ่งตามประกาศฯ ฉบับที่ 414 ไม่มีค่า ML ของตะกั่วใน ISP ไว้เป็นการเฉพาะ แต่มีกำหนดปริมาณของตะกั่วในถั่วเมล็ดแห้งซึ่งรวมทั้งถั่วเหลือง ไว้ไม่เกิน 0.2 mg/kg ของถั่วเหลืองทั้งเมล็ด ในกรณีนี้หากวิเคราะห์ความเสี่ยงแล้วเห็นว่ากระบวนการผลิตไม่สามารถลดการปนเปื้อนของตะกั่วลงได้ประกอบกับรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ ISP ในหลายรุ่นการผลิตก็พบการปนเปื้อนของตะกั่ว ผู้ประกอบการควรกำหนดปริมาณสูงสุดของตะกั่วใน Product Specification ของ ISP นี้โดยอาจใช้ค่าเฉลี่ยจากผลการตรวจวิเคราะห์ที่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการควบคุมการปนเปื้อนในถั่วเหลืองเมล็ดแห้งที่ใช้เป็นวัตถุดิบไม่ให้มีตะกั่วปนเปื้อนเกิน 0.2 mg/kg ด้วย
ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายต้องมีหลักฐานหรือเอกสารเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices; GMPs) เช่น
- เอกสารระบุspecification ของวัตถุดิบ
- บันทึกการตรวจสอบและคัดเลือกวัตถุดิบ
- หนังสือรับรองวัตถุดิบ (Certificate of Ingredients)
- รายงานผลการตรวจวิเคราะห์หรือ
- หนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์(Certificate of Analysis; COA) เป็นต้น
ทั้งนี้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาจสุ่มตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหารสุดท้ายเพื่อทวนสอบระบบการคัดเลือกวัตถุดิบ หรือเพื่อนำมาพิจารณากำหนดเป็นข้อกำหนดคุณภาพและลักษณะของผลิตภัณฑ์ (product specification) ของบริษัทฯ ตนเองได้ตามความเหมาะสม
หากผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีค่า ML กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายวัตถุดิบแล้วมีค่า ML กำหนดสำหรับวัตถุดิบ ผู้ผลิตอาหารต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ GMPs โดยวัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสารปนเปื้อนไม่เกินค่า ML ที่กำหนดไว้
อาหารทุกชนิดไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์หา ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ปรอท และแอฟลาทอกซิน หากไม่ได้มีค่า ML กำหนดไว้สำหรับอาหารหรือวัตถุดิบไว้เป็นการเฉพาะ และหากผู้ผลิตพิจารณาจากข้อมูลวิชาการตามหลักการวิเคราะห์อันตรายแล้วเห็นว่าผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบนั้นๆ ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์
ค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารหรือวัตถุดิบ ซึ่งแตกต่างจากการกำหนดค่าตามประกาศเดิม ดังนี้
(1) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 355)
ชนิดสารปนเปื้อน | ค่า ML เดิม ตาม ป.สธ. ฉ. 355 | ค่า ML ใหม่ ตาม ป.สธ. ฉ. 414 | หมายเหตุ |
ดีบุก | 250 mg/kg | 50 – 250 mg/kg | ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและ ภาชนะบรรจุ |
สังกะสี | 100 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ทองแดง | 20 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ตะกั่ว | 1 mg/kg | 0.03-2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
สารหนู | 2 mg/kg | 0.1 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ปรอท | 0.02 – 0.5 mg/kg | 0.02-1.6 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
(2) เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ป.สธ. ฉ. 356)
ชนิดสารปนเปื้อน | ค่า ML เดิม ตาม ป.สธ. ฉ. 355 | ค่า ML ใหม่ ตาม ป.สธ. ฉ. 414 | หมายเหตุ |
สารหนู | 0.2 mg/kg | 0.1 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ตะกั่ว | 0.5 mg/kg | 0.03 – 2 mg/kg | ตามชนิดอาหารหรือวัตถุดิบ |
ทองแดง | 5 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
สังกะสี | 5 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
เหล็ก | 15 mg/kg | ไม่กำหนด | – |
ดีบุก | 250 mg/kg | 150 mg/kg | กรณีบรรจุในกระป๋อง |
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | 10 mg/kg | – | ดูข้อกำหนดเงื่อนไขการใช้ FA (ป.สธ. ฉ. 389) |
ประกาศฯ ฉบับเก่า เป็นประกาศฯ ที่เริ่มบังคับใช้มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดจะมีค่าเท่ากันในอาหารทุกประเภท โดยพิจารณาจากข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารที่มีได้ในขณะนั้น ทั้งนี้เมื่อมีข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษของสารที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีในการตรวจวิเคราะห์ที่มีความแม่นย าขึ้น ทำให้ค่า ML ที่กำหนดไว้เดิมนั้นไม่สามารถคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากข้อกำหนดปริมาณการปนเปื้อนมีค่าสูงเกินไปสำหรับอาหารบางชนิดที่ถูกบริโภคครั้งละมากๆ และอาจ
เป็นอุปสรรคทางการค้าสำหรับอาหารบางชนิดซึ่งถูกบริโภคครั้งละปริมาณน้อยๆ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 414 จึงได้มีการปรับค่า ML ของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดให้แตกต่างกันตามชนิดของอาหาร สอดคล้องตามหลักการขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปสำหรับสารปนเปื้อนและสารพิษในอาหารและอาหารสัตว์ (Codex General Standard for Contaminants and Toxins in Food and Feed; CODEX STAN 193-1995) ดังนี้
(1) กำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนแตกต่างกันในอาหารแต่ละชนิด โดยอาศัยข้อมูลจากการส ารวจสถานการณ์การปนเปื้อนของโลหะหนักแต่ละชนิดในอาหารกลุ่มต่างๆ และการประเมินปริมาณการได้รับสัมผัส
(2) ค่า ML ของสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 414 ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ในวัตถุดิบเนื่องจากการควบคุมการปนเปื้อนตั้งแต่วัตถุดิบตามหลัก GMPs นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่า ประกอบกับผลิตภัณฑ์อาหารสุดท้ายซึ่งมีสูตรส่วนประกอบและวิธีการผลิตที่หลากหลาย ต้องใช้ทรัพยากรในการศึกษาจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการกำหนดค่า
การกำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนในอาหารตามประกาศฯ ฉบับที่ 414 มีหลักการ ดังนี้
(1) สารปนเปื้อนแต่ละชนิดมีค่า ML ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของอาหาร
(2) ประเภทหรือชนิดของอาหารที่มีการกำหนดค่า ML ไว้เป็นอาหารซึ่งพบปัญหาการปนเปื้อนในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ โดยพิจารณาตามหลักการของ Codex ทั้งนี้อาหารที่ยังไม่ได้กำหนดค่า ML ไว้อาจเพราะพบการปนเปื้อนในระดับต่ ามาก หรือก าลังอยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดค่าเพิ่มเติม
(3) ค่า ML ที่กำหนดสำหรับอาหารแต่ละชนิดจะเป็นปริมาณต่ าที่สุดที่สามารถปฏิบัติได้ตามหลักการ As Low As Reasonably Achievable หรือ ALARA ซึ่งต้องสามารถลดปริมาณการได้รับสัมผัสของสารปนเปื้อนจากอาหารลงได้โดยไม่ส่งผลให้ต้องมีการทำลายสินค้ามากจนส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารหรือปัญหาความมั่นด้านอาหาร (Food Security)
(4) ไม่ได้กำหนดค่า ML ของสารปนเปื้อนในอาหารทุกชนิด ยกเว้นสารปนเปื้อน คือ ดีบุก ตะกั่ว ปรอท สารหนูและแอลฟลาทอกซิน ที่เคยมีค่า ML กำหนดไว้ในอาหารทุกชนิดอยู่เดิม คือ
(4.1) ดีบุก ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(4.2) ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(4.3) ปรอท ไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(4.4) สารหนูทั้งหมดไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
(4.5) แอลฟลาทอกซินทั้งหมด ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
ทั้งนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนทั้ง 5 ชนิดนี้ในอาหารทุกชนิด หากพิจารณาจากข้อมูลวิชาการแล้วเห็นว่าวัตถุดิบหรือกระบวนการผลิตอาหารนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนซึ่งค่าที่กำหนดไว้นี้เป็นเสมือนค่าระดับสูงสุดทั่วไปสำหรับอาหารที่ไม่มีค่า ML กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบที่ด้อยคุณภาพมาใช้เป็นส่วนประกอบ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่จะบังคับใช้ใหม่ มี 2 ฉบับ ดังนี้
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 413 ) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุขหลายฉบับที่กำหนดมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยประกาศฯ ฉบับนี้จะยกเลิกข้อกำหนดสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์จำนวน 19 ประเภทหรือชนิดของอาหาร ได้แก่
ประเภทหรือชนิดของอาหาร | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง |
น้ำมันถั่วลิสง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2522) เรื่อง กำหนดน้ำมันถั่วลิสงเป็นอาหารควบคุมเฉพาะและกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานวิธีการผลิตและฉลากสำหรับน้ำมัน ถั่วลิสง (ข้อ 6) |
น้ำมันปาล์ม | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันปาล์ม (ข้อ 6) |
น้ำมันมะพร้าว | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 57 (พ.ศ. 2524) เรื่อง น้ำมันมะพร้าว (ข้อ 4) |
ช็อกโกแลต | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2527) เรื่อง ช็อกโกแลต (ข้อ 3 (7)) |
เครื่องดื่มเกลือแร่ | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 195) พ.ศ. 2543 เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ (ข้อ 4 (6)) |
ชา | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 196) พ.ศ. 2543 (ข้อ 6 (9)) |
น้ำนมถั่วเหลือง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 198) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 5 (7) และ (12)) |
น้ำส้มสายชู | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 204) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำส้มสายชู(ข้อ 5(2)) |
น้ำมันและไขมัน | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำมันและไขมัน (ข้อ 6 (8)) |
น้ำผึ้ง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 211) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำผึ้ง (ข้อ 4 (15)) |
แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(8)) |
เนย | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 227) พ.ศ. 2544 เรื่อง เนย (ข้อ 4(9)) |
ไข่เยี่ยวม้า | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2544 เรื่อง ไข่เยี่ยวม้า (ข้อ 4 (2)) |
ชาสมุนไพร | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 280) พ.ศ. 2547 เรื่องชาสมุนไพร (ข้อ 4 (3)) |
ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง (ข้อ 4(3)) |
มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี | ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี(ข้อ 3) |
เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๔๘) พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่อง เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม (ข้อ 4 (5) และ (6)) |
อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4 (4)) |
เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๕๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ข้อ 4(9)) |
โดยปริมาณสูงสุด (Maximum Level; ML) ของสารปนเปื้อนซึ่งยอมให้พบในอาหารข้างต้นถูกกำหนดใหม่ตามข้อ 4 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน โดยประกาศฯ ฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ
(2.1) ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่บังคับใช้เกี่ยวกับข้อกำหนดปริมาณสารปนเปื้อนที่ยอมให้พบได้กับอาหารทุกประเภท จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๙๘ (พ.ศ.๒๕๒๙) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน และฉบับที่ ๒๗๓ (พ.ศ.๒๕๔๖) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ ๒)
(2.2) กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อน (Maximum Level; ML) สำหรับสารปนเปื้อนต่างๆ ในอาหารแต่ละประเภทหรือแต่ละชนิดสอดคล้องตามแนวทางการกำหนดค่า ML ขององค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex)
ชื่อของผลิตภัณฑ์ในใบอนุญาตเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน ยกเว้นผลิตภัณฑ์นำเข้า สามารถใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ซ้ำกันได้ หากผลิตภัณฑันั้นมาจากผู้ผลิตต่างประเทศต่างกัน
องค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศไม่จัดโลหะหนักทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นสารปนเปื้อนที่ เนื่องจากสังกะสี ทองแดงและเหล็กเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย ประกอบกับยังมีความไม่แน่ชัดเกี่ยวกับการได้รับโลหะหนักเหล่านี้ต่อประชากรในระยะยาว
สารปนเปื้อน (contaminants) หมายความว่า สารที่ปนเปื้อนกับอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจเติมลงไปในอาหาร แต่ปนเปื้อนโดยเป็นผลเนื่องจากการผลิต การเตรียม การแปรรูป การบรรจุการขนส่งหรือการเก็บรักษาหรือปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- โลหะหนัก เช่น แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท เมธิลเมอร์คิวรี่ สารหนูและสารหนูอนินทรีย์โดยไม่รวมถึงโลหะหนักที่มีผลกระทบด้านคุณลักษณะของอาหาร แต่ไม่มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เหล็ก และทองแดง เป็นต้น
- สารพิษจากเชื้อรา เช่น แอฟลาทอกซิน ดีออกซีนิวาลีนอล ฟูโมนิซินบี1 และบี2 โอคราทอกซินเอ และพาทูลิน เป็นต้น
- สารพิษจากพืช (Phycotoxins) เช่น กรดไฮโดรไซยานิก เป็นต้น
- สารปนเปื้อนอื่นๆ ซึ่งเกิดในระหว่างกระบวนการผลิต เช่น 3-เอ็มซีพีดีและแพร่กระจายจากภาชนะบรรจุอาหาร เช่น ไวนิลคลอไรด์มอนอเมอร์และ อะคริโลไนไตรล์เป็นต้น
ทั้งนี้ไม่รวมถึง
- สิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ เช่น ชิ้นส่วนของแมลง และขนหนูเป็นต้น
- สารพิษตกค้าง (pesticide residues) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยสารพิษตกค้าง
- ยาสัตว์ตกค้าง (veterinary drug residues) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยยาสัตว์ตกค้าง
- สารพิษที่สร้างโดยจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค (microbial toxin) เช่น สารพิษโบทูลินั่ม (Botulinumtoxin) จากเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) และสารพิษคอเลอเร (Cholera toxin) ซึ่งสร้างโดยวิบริโอ คอเลอเร (Vibrio cholera) โดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จัดเป็นเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
-อนุพันธ์หรือสารตกค้างจากการใช้สารช่วยในการผลิต (residues of processing aids) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหาร
- ยังไม่อนุญาตการใช้ “สารสกัดจากเปลือกมังคุด” ในผลิตภัณฑ์อาหารใดๆ
- กรณีประสงค์จะใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร จะต้องยื่นขอประเมินความปลอดภัยอาหารให้เสร็จสิ้นก่อนการยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์
“สารสกัดจากเปลือกมังคุด” จะจัดเป็นอาหารใหม่ (Novel Food) ตามนิยามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 หากเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติ การบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี หรือ
(2) วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวน การผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้น ๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของ สิ่งมีชีวิต (metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (level of undesirable substances)
(3) ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุ (1) หรือ (2) เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม
ทั้งนี้สามารถยื่นขอทวนสอบการเป็นอาหารใหม่ (Novel food) ได้โดยปฏิบัติตามคู่มือประชาชน (download link : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/manual/9.3_Novel_food.pdf)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอนุญาตให้ใส่inositol ไม่เกิน150 มิลลิกรัม/วัน
ได้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณากำหนดสิทธ์ตามที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ
ข้อแนะนำ : ควรกำหนดสิทธิ์เข้าใช้งานไม่เกิน 1 ปี เพื่อเป็นการทบทวนสิทธิ์ของผู้ประกอบการ และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ใช้เข้างานต้องแจ้งยกเลิกสิทธิ์กับทาง อย. ทันที เพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบการเอง
1 ใบรับรองสถานที่ผลิต รายละเอียดต้องเป็นไปตาม ประกาศสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ใบรับรองสถานที่ผลิตสําหรับการนำเข้าอาหาร
2 Certificate Free Sale หรือ ใบรับรองสถานที่ผลิต ที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอต้องเป็นฉบับจริง หากเป็นสำเนาให้รับรองสำเนาจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึง ได้แก่ 1) ผู้ออกใบรับรอง 2) หน่วยงานรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต 3) หน่วยงานเอกชนที่รัฐบาลรับรอง เช่น Notary public 4) สถานทูตของผู้ผลิตในประเทศไทย
การพิจารณาการจัดประเภทอาหาร ต้องพิขารณาข้อมูลรายละเอียดในภาพรวม เช่น
สูตร/ส่วนผสม 100% กรรมวิธีการผลิต (ทำอย่างไร) ภาชนะบรรจุ/ฝา/ข้อมูลการใช้/วิธีรับประทาน คุณภาพหรือมาตรฐาน(ถ้ามี) วิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เก็บได้กี่วันใครกินได้บ้าง (เด็ก ผู้ใหญ่) เป็นต้น
สามารถดาว์นโหลดหัวข้อการพิจารณา “รายละเอียดของผลิตภัณฑ์” ได้ที่ http://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Download.aspx –> ข้อ 29.1
- เตรียม “รายละเอียดของผลิตภัณฑ์” ให้ครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
สามารถดาว์นโหลดหัวข้อได้ที่
URL : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Download.aspx
–> ข้อ 29.1 - เลือกช่องทางการปรึกษา มี 2 ช่องทาง
2.1 ยื่นหนังสือหารือประเภทอาหาร พร้อมรายละเอียดผลิตภัณฑ์ โดย
1) ยื่นหนังสือด้วยตัวเอง ถึง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ที่อาคาร 3 ชั้น 2 ห้อง 218 หรือ
2) ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ถึง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา มาที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา88/24 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
2.2 ผ่านทาง e-consultation ที่เว็บไซต์ Thai-fda.com โดยแนบรายละเอียดผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อนุญาตให้ใส่ Inositol ไม่เกิน150 มิลลิกรัม/วัน
สามารถศึกษา”การใช้สีผสมอาหาร เกี่ยวกับ ชนิดของสี ปริมาณการใช้ และชนิดของผลิตภัณฑ์” ได้จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 389 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่5)
http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P389.pdf
หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ กลุ่มขออนุญาตผลิตภัณฑ์ กองอาหาร หมายเลขโทรฯ 0-2590-7220
การนำเข้าอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
- ต้องมีใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร ศึกษาข้อมูลได้ที่ลิ้งนี้
ขออนุญาตสถานที่นำเข้าตาม
URL : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Manual.aspx - ผลิตภัณฑ์ต้องได้รับอนุญาต สำหรับผลิตภัณฑ์ต้องยื่นคำขออนุญาตตาม”กลุ่มประเภทอาหาร” ซึ่งการจัดกลุ่มประเภทอาหารจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบ ศึกษารายละเอียดได้ตามหัวข้อ 29.1 ช่องทางการปรึกษาการจัดประเภทอาหาร ได้ที URL
URL : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Download.aspx - เมื่อได้รับอนุญาตทั้งข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว จึงจะนำเข้าเพื่อจำหน่ายได้
- ท่านสามารถศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายได้จาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร พ.ศ. 2560
URL : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/199/2.PDF
อนึ่ง หากมีคำถามเพิ่มเติม ท่านสามารถ ติดต่อกอง อาหาร เรื่อง
- “สถานที่นำเข้า ฯ” หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-7320 , 0-2590-7033
- การขออนุญาตผลิตภัณฑ์และ ค่าใช้จ่าย หมายเลขโทรศัพท์ 0-2590-7187
การขอนำเข้าเป็นวัตถุดิบเผื่อการผลิต
การขอนำเข้าเป็นวัตถุดิบเผื่อการผลิตการนำเข้าผลิตภัณฑ์ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการแบ่งบรรจุตามพรบ.อาหาร พ.ศ. 2522 เข่าข่ายเป็นการผลิต จึงต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ด้วย เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะจำหน่ายได้
การขออนุญาตโฆษณาอาหารติตต่อ การขออนุญาตโฆษณาอาหาร กองอาหาร ศึกษาหลักเกณฑ์โฆษณาอาหารได้ที่
URL : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/61_advertise.PDF
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีกำหนดปริมาณสูงสุดของวิตามินที่เติมได้ในการบริโภค 1 วันไว้ ไม่เกิน 100% Thai RDI ตามประกาศฯ ฉบับที่ 293 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (สำหรับวิตามินซีคือ 60 มก. ต่อวัน)
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การขออนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กองอาหาร โทรฯ 0-2590-7209
ค่าใช้จ่าย ในการยื่นคำขอฯ รายการละ 3,000.-บาท และศึกษารายละเอียดได้จาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคําขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร พ.ศ. 2560
URL : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/199/23.PDF
การนําเข้าอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารหรือเพื่อพิจารณาในการสั่งซื้อ มีข้อกำหนดและปริมาณตาม “ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการนําเข้าอาหารเพื่อเป็นตัวอย่างในการขึ้นทะเบียนตํารับอาหารหรือเพื่อพิจารณาในการสั่งซื้อ พ.ศ. 2560
URL : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/O-16.pdf
หรือติดต่อ กองด่านอาหารและยา โทรศัพท์ 0-2590-7363
หากผลิตภัณฑ์ของท่านเป็น”เครื่องดื่ม” การทดสอบดูตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2556) เรื่องเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ศึกษารายละเอียดได้จาก URL : http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P356.pdf
หรือสอบถามผู้วิเคราะห์ ที่สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ได้ที่ 0-2951-0000 ต่อ 99561-2 และ 09-5565-7780
อนึ่ง เพื่อความชัดเจนของผลิตภัณฑ์ในการสอบถามควรมีรายละเอียด ตามแบบฟอร์มตามรายการที่ 29.1 ตาม
URL : http://www.fda.moph.go.th/sites/food/SitePages/Download.aspx
- ฉลากอาหาร”กาแฟพร้อมบริโภค”แสดงคำว่า สดชื่น /ชื่นใจ ได้
- หากทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์โดยมีคำว่า”สดชื่น/ชื่นใจ” จะต้องขออนุญาตโฆษณา